ในความพยายามเพื่อฟื้นฟูด้านวิทยาศาสตร์ บราซิลได้เปิดตัวโครงการใหม่ที่มุ่งดึงดูดนักวิจัยชาวบราซิล 1,000 คนที่กำลังทำงานในต่างประเทศให้กลับมายังบ้านเกิดของตน โครงการริเริ่มนี้ที่มีชื่อว่า Conhecimento Brasil ทำให้เกิดการถกเถียงกันอย่างมากในกลุ่มบุคลลากรด้านวิทยาศาสตร์ โดยผู้เชี่ยวชาญหลายคนตั้งคำถามถึงประสิทธิภาพ และความกังวลเกี่ยวกับการจัดสรรทรัพยากร
โครงการนี้เปิดตัวภายใต้การบริหารของประธานาธิบดี Luiz Inácio Lula da Silva มีการจัดสรรงบประมาณจำนวน 1 พันล้านเรียลบราซิล หรือประมาณ 200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในระยะเวลาห้าปี โดยเสนอค่าตอบแทนรายปีตั้งแต่ 120,000 ถึง 156,000 เรียล ตลอดจนเงินทุน 400,000 เรียลเพื่อสร้างห้องปฏิบัติการ ซึ่งเป็นมาตรการขัดขวางภาวะสมองไหลของบราซิล และเสริมความสามารถทางด้านวิทยาศาสตร์ อย่างไรก็ตาม นักวิจารณ์แย้งว่าโครงการมุ่งเน้นไปที่การดึงดูดนักวิจัยชาวบราซิลที่มีชื่อเสียงจากต่างประเทศ แต่มองข้ามกลุ่มบุคลลากรด้านวิทยาศาสตร์ภายในประเทศ Thaís Barreto Guedes นักชีววิทยาจาก State University of Campinas เน้นย้ำถึงสถานการณ์ของปริญญาเอกที่ว่างงานหลายพันคนในปัจจุบัน สภาพความไม่มั่นคง เงินเดือนต่ำ และห้องปฏิบัติการที่ทรุดโทรม มีนักวิจัยหลายคนตั้งคำถามถึงวิธีการในการจัดสรรงบประมาณในการส่งตัวกลับประเทศ ในขณะที่งบประมาณการวิจัยภายในประเทศซบเซาลง นอกจากนี้ ประสิทธิภาพของโครงการส่งตัวกลับประเทศยังเป็นข้อสงสัย เนื่องจากขาดความชัดเจนเกี่ยวกับจำนวนนักวิจัยชาวบราซิลที่อพยพไปต่างประเทศในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา นอกจากนี้ ความกังขาเกี่ยวกับระดับการสนับสนุนและการดึงดูดนักวิจัยที่มีประสบการณ์ซึ่งคุ้นเคยกับค่าตอบแทนที่ดีกว่าในต่างประเทศ
Alicia Kowaltowski นักชีวเคมีจากสถาบันเคมีแห่งมหาวิทยาลัยเซาเปาโล (the University of São Paulo's Institute of Chemistry) สงสัยเกี่ยวกับความเหมาะสมของข้อเสนอที่ให้กับนักวิจัยปริญญาโท โดยเน้นถึงความสำคัญของประสบการณ์ในการพัฒนาโครงการวิจัยที่มีประสิทธิภาพ และการจัดตั้งห้องปฏิบัติการ ข้อกังวลเหล่านี้ตอกย้ำถึงความจำเป็นในการใช้แนวทางที่ครอบคลุมจัดการกับความท้าทายเชิงระบบ ที่บ่อนทำลายโอกาสการวิจัยในบราซิล ฉันทามติในหมู่นักวิจารณ์เกี่ยวกับโครงการส่งตัวกลับประเทศ ก็คือ แม้ว่าจะมีเจตนาดี แต่ก็ไม่สามารถจัดการกับสาเหตุที่แท้จริงของอาการสมองไหลได้ Thiago Gonçalves Souza นักนิเวศวิทยาจากมหาวิทยาลัยมิชิแกน (University of Michigan) เน้นย้ำถึงบทบาทสำคัญของการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน และการสนับสนุนการวิจัยในการรักษาความสามารถทางวิทยาศาสตร์ในบราซิล จนกว่าปัญหาพื้นฐานเหล่านี้จะได้รับการแก้ไข Souza ยืนยันว่าโครงการริเริ่มต่างๆ เช่น โครงการส่งตัวกลับประเทศไม่น่าจะให้ผลลัพธ์ที่มีนัยสำคัญ
ผลการวิจัยเบื้องต้นในการสำรวจนักวิจัยชาวบราซิลที่ทำงานในต่างประเทศ พบว่ากว่า 90% ระบุว่าไม่คาดหวังว่าจะกลับมาบราซิล สิ่งนี้ตอกย้ำความจำเป็นสำหรับรัฐบาลบราซิลในการจัดลำดับความสำคัญของการปฏิรูประบบที่มุ่งปรับปรุงสภาพการทำงาน และโอกาสในการทำงานสำหรับนักวิจัยที่มีอยู่ภายในประเทศ โดยสรุป แม้ว่าความพยายามของบราซิลในการเลียนแบบแผนของจีนสะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นที่น่ายกย่องในการส่งเสริมความเป็นเลิศทางวิทยาศาสตร์ ความสำเร็จของโครงการริเริ่มดังกล่าวขึ้นอยู่กับการจัดการกับความท้าทายเชิงโครงสร้างที่ซ่อนอยู่ ดังที่ Renato Janine Ribeiro ประธานสมาคมบราซิลเพื่อความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ ตั้งข้อสังเกตว่า การป้องกันสมองไหลต้องใช้แนวทางหลายแง่มุม โดยให้ความสำคัญกับการปรับปรุงสภาพการทำงาน และโอกาสทางอาชีพสำหรับนักวิจัยในประเทศ บราซิลหวังที่จะหยุดยั้งการโยกย้ายผู้มีความสามารถ และตระหนักถึงศักยภาพทางวิทยาศาสตร์ได้ด้วยความพยายามร่วมกันเพื่อจัดการกับสาเหตุที่แท้จริง
Xi ประธานาธิบดีของจีน (ซ้าย) และ Lula ประธานาธิบดีของบราซิล (ขวา) ณ กรุงปักกิ่ง เครดิต: AP
แหล่งข้อมูลอ้างอิง
Brazil's Attempt to Replicate China's The Thousand Talents Plan สืบค้นเมื่อ 21 พ.ค. 2567 จาก https://researcherdaily.com/p/brazils-attempt-to-replicate-chinas
Комментарии