ดร. Joyce White ผู้อำนวยการโครงการโบราณคดี ณ พิพิธภัณฑ์เพนน์ (The Penn Museum) และศาสตราจารย์พิเศษประจำภาควิชามานุษยวิทยา (Anthropology) มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย รัฐเพนซิลเวเนีย ได้ศึกษาตัวอย่างพรรณไม้ที่มีการใช้ประโยชน์ และเปิดเผยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ที่นักพฤกษศาสตร์ใช้เพื่อไขความลับที่มีอยู่ในซากพืชที่ขุดพบจากแหล่งโบราณคดีในบริเวณบ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี ซึ่งเป็นแหล่งโบราณคดีที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก หรือ UNESCO ที่ทางพิพิธภัณฑ์ฯ ขุดค้นระหว่างปี 1974 ถึง 1975 ในโครงการ Ban Chiang Project
ส่วนที่สำคัญที่สุดในการศึกษาพฤกษศาสตร์โบราณ คือการศึกษาเมล็ดพันธุ์โบราณ ซึ่งเป็นซากพฤกษศาสตร์ขนาดใหญ่ (Macrobotanical remains) ที่พบระหว่างการขุดค้นโบราณวัตถุ และในปี 2024 โครงการบ้านเชียงของพิพิธภัณฑ์ฯ นำโดยดร. Cristina Castillo นักพฤกษศาสตร์โบราณจาก University College London ได้เดินทางมาที่พิพิธภัณฑ์ฯ เพื่อทำการ "ลอยตะกอน (Flotation)" ถุงดินที่เคยเก็บอยู่ในชั้นใต้ดินของพิพิธภัณฑ์ฯ มาเกือบ 40 ปี
ดร. Joyce White รวบรวมตัวอย่างพืชไทยจากพื้นที่บ้านเชียงในปี 1981 ซึ่งปัจจุบันกำลังได้รับการศึกษาอยู่ในพิพิธภัณฑ์เพนน์ เธอทำงานอย่างใกล้ชิดกับชาวบ้านบ้านเชียง เพื่อบันทึกภูมิปัญญาท้องถิ่นเกี่ยวกับคอลเลกชันนี้ เมล็ดพันธุ์ในคอลเลกชันนี้สามารถใช้เปรียบเทียบกับเมล็ดพันธุ์โบราณที่ค้นพบจากแหล่งโบราณคดี
การลอยตะกอน (Flotation) คือวิธีการที่ช่วยในการแยกชิ้นส่วนซากพืชที่ถูกเผาไหม้ เช่น Wood charcoal และ Seed charcoal เพื่อการศึกษาทางด้านโบราณคดี เนื่องจากชิ้นส่วนเหล่านี้มีความหนาแน่นน้อยกว่าน้ำ จึงลอยขึ้นมาเหนือน้ำทำให้สามารถแยกและนำตัวอย่างเหล่านั้นไปวิเคราะห์ต่อไปภายใต้กล้องจุลทรรศน์ ในขณะที่ตะกอนดินหรือฟอสซิลอื่นๆ เช่น กระดูกของสัตว์ และชิ้นส่วนข้าวของเครื่องใช้ ภาชนะโบราณต่างๆ จะจมลงใต้น้ำในขั้นตอนการลอยตะกอน ซึ่งที่จมลงเหล่านี้จะถูกนำไปผ่านขั้นตอนการร่อนแบบเปียก (Wet sieving) ด้วยตะแกรงต่อไป โดย ดร. Castillo และทีมงานได้ลอยถุงตะกอนมากกว่า 90 ถุงบริเวณลานภายในพิพิธภัณฑ์ฯ เป็นเวลา 10 วัน หลังจากจัดทำรายการถุงตะกอนแล้ว ถุงตะกอนเหล่านี้จะถูกส่งไปยังห้องปฏิบัติการของดร. Castillo ในลอนดอนต่อไป การศึกษาด้วยกล้องจุลทรรศน์ของเศษซากพืชช่วยให้นักพฤกษศาสตร์โบราณสามารถแยกเมล็ดออกจากซากพืช เช่น รากไม้และถ่านไม้ได้ เมล็ดพืชหลายชนิดสามารถระบุชนิดได้ เช่น Oryza sativa หรือข้าว แม้แต่เมล็ดวัชพืชก็สามารถระบุได้ และสิ่งเหล่านี้สามารถช่วยสร้างเทคนิคการปลูกพืชใหม่ได้
เนื่องจากนักโบราณคดีพฤกษศาสตร์มีน้อย โดยเฉพาะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่การวิจัยทางโบราณคดียังอยู่ในช่วงเริ่มต้น นอกจากนี้ภายใต้โครงการบ้านเชียง จึงมีโครงการ ปีแห่งพฤกษศาสตร์ (Year of Botany) ที่ดร. Joyce White กล่าวถึง ซึ่งเป็นการฝึกอบรมนักศึกษาพฤกษศาสตร์ไทยจากมหาวิทยาลัยมหิดล กรุงเทพฯ เกี่ยวกับเทคนิคการลอยตะกอน
ดร. Joyce White, Steve Lang และ ดร. Cristina Castillo
จาก University College London และ
นักศึกษาสองคนจากมหาวิทยาลัยมหิดล
ดร. Joyce C. White ศาสตราจารย์พิเศษด้านมานุษยวิทยา
มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย รัฐเพนซิเวเนีย เป็นผู้ก่อตั้งและผู้อำนวยการบริหารของสถาบันโบราณคดีเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ดร. Joyce ได้รับรางวัล Friend of Thai Science Award ในปี 2020 สำหรับความสำเร็จในด้านโบราณคดีของไทย ซึ่งรวมถึงการจัดพิมพ์เอกสาร
Ban Chiang Metals Monograph การส่งเสริมความร่วมมือระหว่างไทยและลาวในการสืบค้นโบราณคดีในท้องถิ่นผ่านโครงการโบราณคดีลุ่มน้ำโขงตอนกลาง (Middle Mekong Archaeological Project: MMAP) ที่เธอริเริ่ม และการพัฒนาทรัพยากรดิจิทัลสำหรับโบราณคดีเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
แหล่งข้อมูลอ้างอิง
The Science of Seeds, https://www.penn.museum/blog/the-science-of-seeds/
Ban Chiang Project, https://www.penn.museum/research/project.php?pid=10#:~:text=UNESCO%20inscribed%20Ban%20Chiang%20as,Udon%20Thani%20in%20northeastern%20Thailand.
METALS MONOGRAPH, https://iseaarchaeology.org/ban-chiang-project/current-work/
Comments