top of page

ทีมเยาวชนไทยคว้า 10 รางวัล จากการประกวด Regeneron International Science and Engineering Fair 2023

ทีมเด็กไทยสร้างชื่อให้ประเทศไทย คว้ารางวัลสุดยอดนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ Regeneron Young Scientist Awards รางวัลใหญ่เวทีโลก รับเงินรางวัลมูลค่ารวมมากกว่า 1.7 ล้านบาท พร้อมคว้าอันดับ 1 รางวัล Grand Award สาขาสัตวศาสตร์ ในเวทีการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมสำหรับเยาวชน ระดับโลก REGENERON ISEF 2023 เฉือนคู่แข่งจาก 63 ประเทศ แถมทีมเยาวชนไทยคว้าอีก 8 รางวัลบนเวทีระดับโลก รวม 10 รางวัล มูลค่ารางวัลรวมทั้งสิ้น $ 66,500 ที่จัดขึ้นโดย Society for Science & the Public ณ เมืองดัลลัส รัฐเท็กซัส ประเทศสหรัฐอเมริกา ระหว่างวันที่ 13 - 19 พฤษภาคม 2566 ที่ผ่านมา



สำนักงานฯ ขอแสดงความยินดีกับน้องๆ เยาวชนไทยและอาจารย์ที่ปรึกษาทุกท่านที่ได้แสดงศักยภาพและสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทยอีกครั้ง


รางวัลสุดยอดนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ Regeneron Young Scientist Awards ($50,000)

และ 1st Grand Award ($5,000) สาขา: Animal Sciences

โรงเรียน : โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย กรุงเทพฯ

โครงงานที่ได้รับรางวัล : Project Title : Innovation for Optimizing Lacewing Survivability (โครงงานการเพิ่มอัตราการรอดของการปล่อยแมลงช้างปีกใส Mallada basalis ในธรรมชาติโดยการประยุกต์ใช้ปัจจัยทางกายภาพและพฤติกรรมการเลือกกินอาหารเพื่อพัฒนาเป็นบรรจุภัณฑ์การปล่อยแมลงช้างปีกใสสำหรับใช้ควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธี)

.

ผู้พัฒนาโครงงาน: นายปูรณ์ ตระกูลตั้งมั่น, นายทีปกร แก้วอำดี, นายปัณณธร ศิริ

อาจารย์ที่ปรึกษา: นายชนันท์ เกียรติสิริสาสน์


 

รางวัล: 2nd Place Grand Award ($2,000)

สาขา: Animal Sciences

โรงเรียน : ดำรงราษฎร์สงเคราะห์ จ.เชียงราย

โครงงานที่ได้รับรางวัล : Pebrin Disease Detection Using Silkworm Phototaxis โครงงานการตรวจสอบการเกิดโรคเพบรินในหนอนไหมระยะแรกเกิดโดยใช้พฤติกรรมเข้าหาแสง

.

ผู้พัฒนาโครงงาน: นายธนวิชญ์ น้ำใจดี, นายพณทรรศน์ ชัยประการ, นางสาวกัญญาริณทร์ ศรีวิชัย

อาจารย์ที่ปรึกษา: นายเกียรติศักดิ์ อินราษฎร


 

รางวัล: 2nd Place Grand Award ($2,000)

สาขา: Earth and Environmental Sciences

โรงเรียน: โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ปทุมธานี

โครงงานที่ได้รับรางวัล: A Novel Seed Delivery System for Effective Reforestation (การพัฒนานวัตกรรมซ่อมแซมป่าหลังเกิดไฟป่าเลียนแบบโครงสร้างของผลน้อยหน่าเครือ (Kadsura coccinea) )

.

ผู้พัฒนาโครงงาน : นายจิรพนธ์ เส็งหนองแบน, นายนฤพัฒน์ ยาใจ, นายพรหมพิริยะ ขัตติยวงษ์

อาจารย์ที่ปรึกษา: นายขุนทอง คล้ายทอง


 

2nd Place Special Award จากหน่วยงาน: U.S. Agency for International Development (USAID)สาขา: Agriculture and Food Security ($3,000)

และรางวัล : 3rd Place Grand Award สาขา: Animal Sciences ($1,000)

โรงเรียน: โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย กรุงเทพฯ

โครงงานที่ได้รับรางวัล: Approach to Control Red Palm Weevil Pests โครงงานการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงรูปร่างของหนอนด้วงสาคูร่วมกับการเสริมพืชอาหารก่อนการบริโภค เพื่อเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการของโปรตีนทางเลือก

.

ผู้พัฒนาโครงงาน: นายสัญพัชญ์ อัครจีราวัฒน์, นายธนัตถ์กรณ์ เชาวนสมิทธิ์

อาจารย์ที่ปรึกษา: นางสาววนิดา ภู่เอี่ยม


 

รางวัล: 3rd Place Grand Award ($1,000)

สาขา: Physics and Astronomy

โรงเรียน: โรงเรียนกำเนิดวิทย์ จ.ระยอง

โครงงานที่ได้รับรางวัล: Study of Polygonal Cyclones on Jupiter and Saturn การศึกษาแบบจำลองผลของสนามแม่เหล็กต่อพายุทรงหลายเหลี่ยมบนดาวพฤหัสบดีและดาวเสาร์โดยหลักความไม่เสถียรเชิงอุทกพลศาสตร์

.

ผู้พัฒนาโครงงาน: นางสาวจินต์จุฑา ปริปุรณะ, นายปวริศ พานิชกุล, นางสาวอมาดา ภานุมนต์วาที

อาจารย์ที่ปรึกษา: ดร.ปริญญา ศิริมาจันทร์ และนายศรัณย์ นวลจีน


 

รางวัล : 4th Place Grand Award ($500)

สาขา: Computational Biology and Bioinformatics

โรงเรียน: ทีมโรงเรียนกำเนิดวิทย์ จ.ระยอง

โครงงานที่ได้รับรางวัล: PROSynMOGN: การปรับปรุง Graph Neural Networks สำหรับโมเลกุลเพื่อทำนายการเสริมฤทธิ์ของยาคู่ผสมสำหรับรักษาโรคมะเร็งที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลการแสดงออกของโปรตีน

.

ผู้พัฒนาโครงงาน: นายติสรณ์ ณ พัทลุง, นายเมธิน โฆษิตชุติมา, นายกิตติพัศ พงศ์อรุโณทัย

อาจารย์ที่ปรึกษา: ดร. ธนศานต์ นิลสุ โรงเรียนกำเนิดวิทย์ และ บัณฑิต บุญยฤทธิ์ สถาบันวิทยสิริเมธี


 

1st Place Special Award จากหน่วยงาน: Sigma Xi, The Scientific Research Honor Society ในสาขา: Life Sciences Discipline ($1,500)

รางวัล: 4th Place Grand Award สาขา: Translational Medical Science ($500)

โรงเรียน : โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย จ.เชียงใหม่

โครงงานที่ได้รับรางวัล: O-RA: Osteoarthritis Rehabilitation Assistant การพัฒนาแพลตฟอร์มโดยประยุกต์ใช้หลักฟังก์ชันตรีโกณมิติผกผันปัญญาประดิษฐ์แบบการเรียนรู้เชิงลึกและหลักการเกมมิฟิเคชันผ่านระบบโซเชียลเพื่อช่วยป้องกัน ชะลอ และฟื้นฟูข้อเสื่อมอย่างยั่งยืน

ผู้พัฒนาโครงงาน: นางสาวนภัสชล อินทะพันธุ์, นายแก้วกล้า สร้อยกาบแก้ว, นายกฤตภาส ตระกูลพัว

อาจารย์ที่ปรึกษา: นายกฤติพงศ์ วชิรางกุล


bottom of page