top of page

พายุสุริยะที่รุนแรงทำให้เกิดแสงออโรร่า—และ ‘เซอร์ไพรส์’

ศูนย์พยากรณ์อากาศอวกาศของ NOAA ได้สังเกตว่าพายุแม่เหล็กโลก (Geomagnetic Storm) สำหรับวันที่ 14 พฤษภาคม 2024 อาจสูงถึง G2 หรือมีความแรงปานกลาง นั่นคือระบบไฟฟ้าที่ละติจูดสูงสามารถส่งสัญญาณเตือนไฟฟ้าแรงสูงได้ และยานอวกาศต้องทำการปรับตัวเพื่อให้บินได้ปกติ โดยในบางรัฐสหรัฐฯ ตั้งแต่นิวยอร์กไปจนถึงไอดาโฮสามารถมองเห็นแสงออโรร่าได้ แต่หลังจากนั้นพายุสุริยะมีแนวโน้มอ่อนกำลังลงในอีก 2 วัน และแสงออโรร่าจะเริ่มหายไป


เมื่อย้อนกลับไปในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา โลกได้รับผลกระทบพายุแม่เหล็กโลกที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ซึ่งเกิดจากการปลดปล่อยมวลโคโรนา (coronal mass ejection หรือ CME) หลายครั้งจากดวงอาทิตย์ โดย CME เหล่านี้ชนกับสนามแม่เหล็กของโลก ทำให้เกิดแสงออโรร่าที่น่าทึ่ง ทำให้มีการหยุดชะงักทางเทคโนโลยี เช่น โครงข่ายไฟฟ้า และระบบ GPS แต่ก็ไม่มีรายงานความเสียหายจากดาวเทียมที่สำคัญ อย่างไรก็ตาม ความกังวลเกี่ยวกับอายุการใช้งานของดาวเทียมที่สั้นลงยังคงมีอยู่ ดังที่เห็นได้จากกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล (Hubble Space Telescope) ที่เคลื่อนลงมาด้วยความเร่ง พายุสุริยะมีต้นกำเนิดมาจากจุดหนึ่งบนดวงอาทิตย์ที่เรียกว่า Active Region 3664 ซึ่งเป็นกระจุกขนาดใหญ่ที่เส้นสนามแม่เหล็กบิดตัว เกิดการผลักพลาสมา (plasma) จำนวนหลายพันล้านตันมายังโลก CME เหล่านี้ทำให้เกิดพายุแม่เหล็กโลกที่รุนแรงระดับ G4 และอัปเกรดเป็น G5 ที่รุนแรงมากขึ้น เมื่อรวมตัวกันเป็นมวลที่ซับซ้อนเพียงก้อนเดียวซึ่งพุ่งมายังโลก เมื่อเกิดการชนแล้ว CME กระตุ้นให้เกิดพายุแม่เหล็กโลก แม้ว่าพายุแม่เหล็กโลกขนาดใหญ่จะเกิดขึ้นประมาณสี่ครั้งต่อวัฏจักรสุริยะ 11 ปี แต่ความถี่ของพายุเหล่านั้นจะขึ้นอยู่กับพฤติกรรมของดวงอาทิตย์ (Solar Activity) การพยากรณ์เหตุการณ์ดังกล่าวยังคงท้าทาย โดยทั่วไปแล้วจะรู้ล่วงหน้าเพียง 2-3 วันเมื่อ CME ออกจากดวงอาทิตย์ ซึ่ง Active Region 3664 ยังคงเป็นความกังวล เนื่องจากการปล่อยอนุภาคพลังงานสูงอาจก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อนักบินอวกาศ

นักพยากรณ์ไม่สามารถยืนยันการมาถึงของ CME ที่แน่นอนได้ จนกว่าจะผ่านดาวเทียม ด้วยเหตุนี้ การเฝ้าระวังและการเตรียมพร้อมอย่างต่อเนื่องจึงเป็นสิ่งสำคัญในการรับมือกับสภาพอากาศในอวกาศที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา


--------------------------------------------------------------------------

ข้อมูลอ้างอิง

Extreme solar storm generated aurorae—and ‘surprise’ สืบค้นเมื่อ 14 พ.ค. 2024 จาก https://www.science.org/content/article/extreme-solar-storm-generated-auroras-and-surprise

Why we’ve been seeing the northern lights so often lately สืบค้นเมื่อ 14 พ.ค. 2024 จาก https://www.vox.com/science/24156730/aurora-northern-lights-visible-space-weather-storm-sun-solar-flare-ejection

 

Commentaires


bottom of page