top of page

การใช้เทคโนโลยี AI ในละตินอเมริกา เพื่อช่วยในการทำการเกษตรที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น


ไร่ถั่วเหลืองในเขตเทศบาลเมือง Montividiu, Goias ประเทศบราซิล ถ่ายเมื่อวันที่ 22 มกราคม 2024


เป็นเวลาหลายศตวรรษแล้วที่เกษตรกรใช้ปฏิทินโหราศาสตร์ (almanac) เพื่อทำความเข้าใจ และทำนายรูปแบบสภาพ อากาศ ดังนั้นกลุ่มคนรุ่นใหม่ในละตินอเมริกาจึงพยายามทำนายรูปแบบสภาพอากาศด้วยปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI ซึ่งอาจทำให้มีการปฏิวัติด้านการเกษตรครั้งใหญ่ในบราซิล ที่เป็นผู้ส่งออกถั่วเหลือง ข้าวโพด และเนื้อวัวรายใหญ่ที่สุดในโลก


Aline Oliveira Pezente สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโททางด้าน AI และการวิเคราะห์ข้อมูล จากสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (Massachusetts Institute of Technology หรือ MIT) สหรัฐฯ และเป็นผู้ประกอบการวัย 39 ปี จากรัฐมินาส เชไรส์ ประเทศบราซิล เคยทำงานที่บริษัทการเกษตร Louis Dreyfus Commodities และได้สังเกตเห็นปัญหาในการดำเนินงานของอุตสาหกรรมการเกษตรในบราซิล โดยเธอกล่าวว่า ผู้ผลิตต้องการทราบข้อมูลล่วงหน้าเพื่อซื้อปัจจัยการเกษตรต่างๆ เช่น เมล็ดพันธุ์พืช และปุ๋ย แต่ยังมีความเสี่ยงมากมาย ตั้งแต่ภัยธรรมชาติ เช่น ภัยแล้ง น้ำท่วม โรคพืช การกัดเซาะ ไปจนถึงการเงิน เช่น การล้มละลาย ราคาตกต่ำ เป็นต้น


ในปี 2018 Aline และสามี Fabricio ได้เปิดตัวบริษัทชื่อ Traive ซึ่งรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการเกษตรจำนวนมาก จากนั้นวิเคราะห์ด้วย AI เพื่อลดความเสี่ยงด้านเงินทุนสำหรับผู้ให้กู้ และทำให้เกษตรกรเข้าถึงสินเชื่อได้ง่ายขึ้น เจ็ดปีต่อมาบริษัท Fintech และยักษ์ใหญ่ในอุตสาหกรรมเกษตรอย่างธนาคาร Syngenta ของบราซิล ซึ่งเป็นธนาคารที่ใหญ่เป็นอันดับสองของละตินอเมริกาได้เข้าร่วมลงทุนกับ Traive ด้วย โดยมีผู้ใช้แพลตฟอร์มของ Traive มากกว่า 70,000 รายในการช่วยอำนวยความสะดวกในการดำเนินงานทางการเงินเกือบ 1 พันล้านดอลลาร์ โดยเกษตรกรหันมาใช้ AI มากขึ้น เพื่อเพิ่มผลผลิตและผลตอบแทน เช่น การใช้รถแทรกเตอร์ไร้คนขับ โดรนที่ติดตามสุขภาพพืชผล และกล้องอัจฉริยะที่จดจำวัชพืช ซึ่งช่วยกำจัดวัชพืชอย่างตรงจุด โดยบริษัทTerraFirma ในเปอร์โตริโกของ Mieses พัฒนาโมเดล AI ที่ใช้ภาพถ่ายดาวเทียม เพื่อคาดการณ์ความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม เช่น ภัยพิบัติทางธรรมชาติ โรคพืชผล และการกัดเซาะ


มีการวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับอุตสาหกรรมการเกษตรในประเทศต่างๆ เช่น บราซิล ที่เป็นประเทศมหาอำนาจทางการเกษตร ซึ่งเห็นได้จากสิ่งแวดล้อมที่ถูกทำลายเพิ่มขึ้นในภูมิภาคสำคัญ เช่น ป่าฝนอเมซอน และด้วยจำนวนประชากรโลกที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นถึงเกือบ 1 หมื่นล้านคนภายในปี 2050 เทคโนโลยีต่างๆ เช่น AI จึงเป็นความหวังที่ดีที่สุดของมนุษยชาติในการอยู่รอดโดยไม่ทำลายโลก


Mariana Vasconcelos ผู้บริหารระดับสูงวัย 32 ปี ของบริษัท Agrosmart ของบราซิล ใช้ AI ช่วยให้เกษตรกรจัดการกับความเสี่ยงด้านสภาพภูมิอากาศ และผลิตผลิตผลได้อย่างยั่งยืนมากขึ้น โดยเธอกล่าวว่า เมื่อเราจำเป็นต้องเพิ่มการผลิตอาหาร เพื่อรองรับจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น แต่ขณะเดียวกัน เราต้องโดยใช้พื้นที่น้อยลง ลดการตัดไม้ทำลายป่า ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วย


ข้อมูลอ้างอิง

'Harvesting data': Latin American AI startups transform farming สืบค้นเมื่อ 25 เมษายน 2567 จาก https://phys.org/news/2024-04-harvesting-latin-american-ai-startups.html

bottom of page