top of page

โดรนทางกิจการอวกาศ (Space)



ความก้าวหน้าในเทคโนโลยีโดรนเพื่อการพาณิชย์กำลังเปิดโอกาสในการเติบโตใหม่สำหรับอุตสาหกรรมอวกาศตลาดที่พัฒนาอย่างรวดเร็วสำหรับโดรนดึงดูดเงินลงทุนร่วมลงทุน 1.4 พันล้านดอลลาร์ในปี 2563 ตามข้อมูลจาก Seraphim Capital นักลงทุนด้านเทคโนโลยีอวกาศในระยะเริ่มต้น ซึ่งนั่นเป็นจำนวนประมาณสองเท่าของเงินทุนที่บันทึกไว้ในปี 2562 บริษัทสตาร์ทอัพที่มองหาการให้บริการตั้งแต่การส่งมอบโดรนไปจนถึงการตรวจสอบอาคารกำลังได้รับความนิยมอย่างมาก


เมื่อเดือนเมษายน 2564 โดรนเฮลิคอปเตอร์ขนาดเล็กชื่อ "Ingenuity" ของ NASA ทะยานขึ้นจากพื้นผิวดาวอังคาร สร้างประวัติศาสตร์ด้วยการเป็นโดรนลำแรกที่บินในชั้นบรรยากาศของดาวเคราะห์ดวงอื่น Ingenuity บินในชั้นบรรยากาศที่บางกว่าของดาวอังคารได้สำเร็จหลายครั้ง


“Ingenuity ต้องเป็นยานอวกาศและเครื่องบินในเวลาเดียวกัน” เบน พิพเพนเบิร์ก วิศวกรเครื่องกลของ AeroVironment บริษัทที่ผลิตโดรนสำหรับการใช้งานทางทหารและพลเรือนกล่าว "และการบินแบบเครื่องบินบนดาวอังคารนั้นค่อนข้างท้าทายเพราะความหนาแน่นของอากาศ คล้ายกับโลกที่ความสูง 100,000 ฟุต"


โดยห้องปฏิบัติการ NASA Jet Propulsion ได้ขยายการบินทดสอบ Ingenuity ออกไปเป็นเวลาอีกหนึ่งเดือน นับเป็นอีกขั้นตอนเล็กๆ ในการพัฒนาโดรน


นอกจากนี้ Aevum บริษัทขนส่งอวกาศของสหรัฐฯ ได้เปิดตัว Ravn X โดรนที่ใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งเจ้าโดรนยักษ์นี้ถูกออกแบบมาเพื่อใช้ในการบินขนส่งดาวเทียมไปปล่อยในอวกาศที่วงโคจรต่ำ และบริษัทกล่าวว่า Ravn X สามารถทำภารกิจเร็วที่สุดเที่ยวละ 180 นาทีได้ตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งได้เริ่มภารกิจแรกในการปล่อยดาวเทียม ASLON-45 ของ US Space Force ใน 2564


Ravn X เป็นแพลตฟอร์มการปล่อยดาวเทียมด้วยโดรนที่ไม่ได้ขับเคลื่อนด้วยจรวดจากพื้นดินเหมือนกับแพลตฟอร์มทั่วไป ซึ่งจะใช้โดรนบรรทุกดาวเทียมบินขึ้นจากรันเวย์ไปสู่ท้องฟ้า เมื่อถึงระดับความสูงที่กำหนดก็จะติดเครื่องจรวดขับเคลื่อนโดรนไปสู่วงโคจรของโลกในอวกาศ และที่สำคัญขณะบินขึ้นไปจรวดท่อนแรกจะถูกปล่อยทิ้งลงมาเพื่อนำมากลับใช้ใหม่ได้ และจะจุดระเบิดจรวดท่อนที่ 2 ต่อทันทีในเวลาเพียงครึ่งวินาที เมื่อจบภารกิจโดรนก็จะบินกลับมาลงจอดตามปกติ และในช่วงเริ่มต้นระบบขนส่งนี้จะสามารถถูกนำกลับมาใช้ใหม่ได้ 70% และในอนาคตจะใช้ได้ 95%


ที่มา

bottom of page