หลุยส์ ปาสเตอร์ (Louis Pasteur)
เป็นนักเคมีและนักจุลชีววิทยา เกิดที่เมืองโดล ประเทศฝรั่งเศส ได้รับการศึกษาที่มหาวิทยาลัยเบซากองและมหาวิทยาลัยปารีส ต่อมาได้ดำรงตำแหน่งอาจารย์ในสถาบันการศึกษาที่สตราบวร์ก ลิลล์ และมหาวิทยาลัยปารีส และได้รับการแต่งตั้งเป็นศาสตราจารย์สาขาเคมีที่มหาวิทยาลัยซอร์บอนน์ในปี พ.ศ. 2410
ปาสเตอร์ค้นพบว่าการเน่าและการหมักเกิดจากเชื้อโรคหรือจุลินทรีย์ ปาสเตอร์ได้ค้นพบปรากฏการณ์นี้ในระหว่างการศึกษาว่าเหตุใดเหล้าองุ่นจึงเสียรสขณะบ่ม แต่เมื่อนำเหล้าองุ่นไปอุ่นให้ร้อนแล้วจึงป้องกันไม่ให้เหล้าองุ่นกลายเป็นน้ำส้มสายชูได้ ซึ่งการกระทำลักษณะนี้ต่อมาได้พัฒนาเป็นการฆ่าเชื้อวิธีปาสเตอร์ (Pasteurization) การค้นพบนี้ทำให้สาขาวิชาจุลชีววิทยาโดดเด่นก้าวหน้าขึ้นอย่างรวดเร็ว
ในปี พ.ศ. 2431 สถาบันปาสเตอร์ได้รับการจัดตั้งขึ้นในกรุงปารีสเพื่อต่อสู้กับโรคพิษสุนัขบ้า ซึ่งปาสเตอร์ได้ทำงานประจำในสถาบันนี้จนถึงแก่กรรม ปัจจุบัน สถาบันปาสเตอร์ยังคงเป็นสถาบันวิจัยที่มีชื่อเสียงที่สุดในโลกที่ยังคงทำงานวิจัยงานด้านจุลชีววิทยาอยู่ รวมทั้งการค้นพบเชื้อไวรัส HIV ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคภูมิคุ้มกันบกพร่องหรือเอดส์
โรแบร์ท ค็อค (Robert Koch)
เป็นนายแพทย์ชาวเยอรมัน ได้ศึกษาโรคที่เกิดจากแกะโดยเพาะเลี้ยงเชื้อนอกอวัยวะสัตว์จนสามารถอธิบายวงจรชีวิตของเชื้อดังกล่าวได้ ซึ่งภายหลังทราบกันดีว่าเป็นเชื้อที่ทำให้เกิดโรคแอนแทรค (Bacillus anthracis) นับว่าเป็นครั้งแรกที่มีการอธิบายบทบาทของเชื้อโรคต่อการเกิดโรคได้อย่างชัดเจน ต่อมา ค็อคได้ค้นพบเชื้อโรคที่ทำให้เกิดวัณโรค (Mycobacterium tuberculosis) และได้พัฒนาการสกัดสารชื่อ ทูเบอร์คูลิน (Tuberculin) ซึ่งช่วยในการตรวจสอบเชื้อวัณโรคได้ หลังจากนั้น ในปี พ.ศ. 2426 ค็อคเดินทางไปยังอินเดียและได้ค้นพบเชื้อที่ทำให้เกิดอหิวาตกโรค (Vibrio cholerae) และการเสนอสมมติฐานของค็อค ซึ่งเป็นรากฐานของความรู้ทางโรคติดเชื้อในปัจจุบัน
สมมติฐานเกี่ยวกับโรคติดเชื้อ หรือที่เรียกว่า Koch’s Postulate ประกอบไปด้วย
จุลินทรีย์นั้นต้องพบทั่วไปในทุกสิ่งมีชีวิตที่เจ็บป่วยด้วยโรคนั้น แต่ไม่ควรจะพบได้ (should not be found) ในสิ่งมีชีวิตที่ไม่ป่วย
จุลินทรีย์นั้นต้องถูกนำมาแยกจากสิ่งมีชีวิตที่ป่วยและถูกนำมาเพาะเลี้ยงในการเพาะเลี้ยงเซลล์บริสุทธิ์
จุลินทรีย์ที่ถูกนำมาเพาะเลี้ยงแล้วจะถูกนำไปเข้าสู่สิ่งมีชีวิตที่ไม่ป่วย
จุลินทรีย์จะต้องถูกนำมาแยกอีกครั้งจากสิ่งมีชีวิตที่ถูกฉีดด้วยจุลินทรีย์ (reisolated from the inoculated) จุลินทรีย์ที่ถูกแยกออกมานี้จะต้องเหมือนกันกับในตัวอย่างใหม่ที่ป่วยและตัวอย่างเดิมที่ป่วย
อย่างไรก็ตาม ต่อมาค็อคได้ละทิ้งข้อบังคับสากลในสมมติฐานข้อแรกหลังเขาพบพาหะไม่แสดงอาการของอหิวาตกโรคและต่อมาในไข้ไทฟอยด์
Comments