top of page

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีพบทีมประเทศไทยในสหรัฐฯ เพื่อมอบนโยบาย


เมื่อวันที่พฤหัสบดีที่ 21 กันยายน 2566 นายเศรษฐพันธ์ กระจ่างวงษ์ อัครราชทูตที่ปรึกษา (อุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม) เข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการบริหาร (ทีมประเทศไทย) ประจำสหรัฐฯ และร่วมพบปะชุมชมไทยในโอกาสเยือนสหรัฐฯ ของนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี เพื่อมอบนโยบายและรับฟังความคิดเห็น ใน ณ โรงแรม St. Regis นครนิวยอร์ก


การประชุมทีมประเทศไทย

เอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน ได้กล่าวแนะนำทีมประเทศไทยและภารกิจงานที่สำคัญที่สถานเอกอัครราชทูตฯ (สอท.) และทีมประเทศไทยได้ดำเนินการร่วมกันมาในปีที่ผ่านมา อาทิ การจัดงานเทศกาลไทย การประชุมนักวิชาชีพ การส่งเสริม soft power และการตั้ง Global Innovation Club เพื่อสนับสนุนการค้าการลงทุนในธุรกิจนวัตกรรม start-up


โดยนายกรัฐมนตรีได้กล่าวให้ความสำคัญกับการผลักดัน การซื้อขายทางการค้ากับสหรัฐฯ รวมทั้งการในทวีปอเมริกาในภาพรวมให้มากขึ้น โดยเฉพาะในกรอบการเจรจา FTA และ นรม. จะมาเข้าร่วมการประชุมเอเปค ระดับผู้นำ ในเดือนพฤศจิกายน 2566 ซึ่งจะมาผลักดันความร่วมมือในด้านเศรษฐกิจให้มากขึ้น โดยเฉพาะใช้โอกาสประชุมหารือทวิภาคีกับผู้นำประเทศต่างๆ


นายกรัฐมนตรีกล่าวถึงบทบาทของรัฐบาลใหม่ ที่จะพยายามส่งเสริมให้คนรุ่นใหม่มีโอกาสทำธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมมากขึ้น และให้หน่วยงานราชการสามารถสนับสนุนด้านงบประมาณที่คล่องตัวมากขึ้น ในส่วนของการผลักดันความร่วมมือด้านการลงทุนด้านเทคโนโลยีนวัตกรรม จะมอบหมายให้ บีโอไอ ซึ่งมีสำนักงานในต่างประเทศช่วยเชื่อมต่อ ทั้งนี้ เลขาธิการบีโอไอ ได้เดินทางติดตามมาราชการในครั้งนี้ พร้อมด้วยตัวแทนภาคเอกชนรายใหญ่อีกหลายบริษัท อาทิ เครือเจริญโภคภัณฑ์ เป็นต้น



ภารกิจในด้านอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม


ในช่วงซักถามและหารือกับนายกรัฐมนตรีของทีมประเทศไทย เอกอัครราชทูตฯ ได้กล่าวว่าปีหน้า สอท. จะจัดให้เป็นปีของการส่งเสริมความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกับสหรัฐฯ จึงขอให้ อัครราชทูตที่ปรึกษาฯ เป็นผู้กล่าวเรียนเสนอประเด็นที่เกี่ยวข้องกับนายกรัฐมนตรี เป็นคนแรก โดยอัครราชทูตที่ปรึกษาฯได้กล่าวดังนี้

  • ขณะนี้ ความตกลง STA ไทย-สหรัฐฯ ซึ่งเป็นความตกลงระดับรัฐบาล ได้ขาดอายุลงแล้วเมื่อเดือน สิงหาคม 2566 โดยทางกระทรวง อว. กับ กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ กำลังดำเนินกระบวนการเพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรี พิจารณาเห็นชอบการลงนามในตราสารต่ออายุไปอีก 10 ปี

  • การจัดการประชุม JCM จัดขึ้นเมื่อวันที่ 21 – 22 มิถุนายน 2566 ณ โรงแรมแลนด์มาร์ค กรุงเทพฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อหารือต่อยอดการดำเนินและแสวงหาความร่วมมือใหม่ที่สามารถร่วมมือแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน โดยหัวข้อที่เห็นชอบในการดำเนินการร่วมกัน ได้แก่ (1) Health and Medicine, including One Health (2) STEM, Entrepreneurship and Innovation Ecosystem (3) Biodiversity, Water, Agriculture and Climate Change Adaptation (4) Energy and Climate Change Mitigation ซึ่ง สอท. ทีมประเทศไทย และสมาคมนักวิชาชีพได้มาร่วมประชุมหารือต่อยอดผลลัพธ์กันที่นครเดนเวอร์เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2566 ที่ผ่านมา

  • ในปีหน้า คาดว่ากระทรวง อว. และหน่วยงานชำนัญการจะร่วมกันจัด Space Dialogue ไทย-สหรัฐ ครั้งที่ 3 ที่ กทม. ทั้งนี้ กงสุลใหญ่ ณ นครลอสแองเจลลิส ได้กล่าวเสริมด้วยว่าบริษัท Space X ให้ความสนใจในการพัฒนาความร่วมมือกับประเทศไทยมาก โดยเฉพาะในมิติของ Space Economy ทั้งนี้ การพัฒนาเทคโนโลยี ในด้านปัจจัยสี่ และ soft power ในอวกาศ ได้แสดงศักยภาพของไทย อาทิ การพัฒนาอาหารสำหรับนักบินอวกาศ หรือธุรกิจการบริการบางอย่าง หากการขยายตัวของการใช้ชีวิตในอวกาศมีการพัฒนามากขึ้น


ข้อหารืออื่นๆ ที่เกี่ยวกับ มิติ อววน.


ในส่วนของการส่งเสริมธุรกิจนวัตกรรม และ start-up ซึ่งมีหน่วยงานเกี่ยวข้องหลายหน่วยงาน นายกรัฐมนตรีกล่าวถึงจะแก้กฎหมายที่เสริมการริเริ่มเป็นผู้ประกอบการของคนรุ่นใหม่ให้มากขึ้น โดยเฉพาะเพื่อดึงจิตใจของคนรุ่นใหม่ให้เข้าใจรัฐบาล และมีความหวังกับประเทศไทยโดยเฉพาะการจัดสรรงบประมาณพัฒนา start-up ซึ่งคนรุ่นใหม่จำนวนไม่น้อยสามารถดำเนินการได้ หากได้รับการจัดสรรทุน


ผู้แทนสำนักงานพาณิชย์ในต่างประเทศ (สพต.) ได้แจ้งให้ทราบว่าในด้านการค้าการลงทุนได้ยังมีข้อจำกัดในด้านกฎหมาย จึงประสงค์ให้สนับสนุนงบประมาณในการจ้างที่ปรึกษาในต่างประเทศจัดทำแนวทางและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับประเภทสินค้าต่างๆ ซึ่งในส่วนของกระทรวง อว. ก็เช่นเดียวกัน ในมิติของการส่งเสริมภาคธุรกิจนวัตกรรมที่จะขยายมายังต่างประเทศ การมีผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายต่างประเทศ และด้านเศรษฐศาสตร์ จะช่วยส่งเสริมได้มาก


นายกรัฐมนตรีกล่าวถึงในส่วนของภาคเกษตรกรรม ว่าทำอย่างไรที่จะสามารถส่งเสริมพัฒนาผลิตภาพทางการเกษตรได้มากขึ้น โดยจะมีการจับคู่ให้เกษตรรายใหญ่ช่วยรายย่อย และผลักดันให้มีผลิตภาพมากขึ้น โดยใช้ วิทยาศาสตร์และเทคโลโนยี อาทิ เกษตรยั่งยืน เกษตรแม่นยำ รวมทั้ง ขอให้ สนง. ในต่างประเทศ พยายามส่งเสริมการนำเข้าสินค้าเกษตรกรรมที่มีคุณภาพของไทยให้เพิ่มมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ อัครราชทูต ฝ่ายเกษตร ได้แจ้งว่า ปีนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ประสบความสำเร็จในการเจรจาให้สหรัฐฯ นำเข้าส้มโอ ผลไม้เศรษฐกิจของไทยเพิ่มเติมอีก 1 รายการ




นายกรัฐมนตรีพบปะชุมชนไทย


สมาคมนักวิชาชีพไทยในอเมริกาและแคนาดา (ATPAC)

ศ.ดร. เมธี เวชารัตนา ประธานสมาคม ATPAC กล่าวถึงบทบาทของสมาคม ซึ่งเป็นที่ร่วมของนักวิชาชีพไทยที่ต้องการนำความรู้และกำลังกลับไปช่วยพัฒนาประเทศ และเห็นว่าประเทศไทยยังให้ความสำคัญกับพัฒนาการด้านการอุดมศึกษาไม่มากพอ หากต้องการให้สมาคมฯ ช่วยก็ยินดีสนับสนุน นายกรัฐมนตรีตอบรับข้อเสนอ ขอให้ประธานสมาคมฯ ทำการนัดหมายกับฝ่ายเลขาฯ เพื่อเข้าข้อพบหารือได้เมื่อเดินทางไปเยือนประเทศไทย


สมาคมนวดไทยและสปาแห่งสหรัฐฯ

นางเจริญพร แฮกเกอร์ นายกสมาคม ต้องการการสนับสนุนด้านการส่งคนมาฝึกอบรมเพื่อเสริมทักษะ หมอนวดไทยในสหรัฐฯ นายกรัฐมนตรีรับที่จะสนับสนุน และคิดว่าการผลักดันให้ผู้มีความรู้ ทักษะด้านนวดและสปา ออกมาทำงานในต่างประเทศ เพื่อนำรายได้กลับไปจุนเจือครอบครัวที่ประเทศไทย เป็นสิ่งที่ช่วยส่งเสริมด้านเศรษฐกิจด้วย



นายกรัฐมนตรีได้ให้ความสำคัญกับการใช้กลไกในต่างประเทศ ร่วมส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจไทย รวมทั้งให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับการแลกเปลี่ยนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เพื่อส่งเสริมศักยภาพภาคการผลิตของไทย คาดว่า ในช่วงการบริหารประเทศในอีก 4 ปีข้าง หน่วยงานทีมประเทศไทย จะต้องมีการร่วมทำงานในแนวบูรณาการมากขึ้น โดยเฉพาะในมิติของการผลักดันการขับเคลื่อนเศรษฐกิจโดยใช้วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ในขณะที่ร่วมสนับสนุนคนรุ่นใหม่ให้สำเร็จผ่านระบบการอุดมศึกษาให้มีประสิทธิภาพ และโอกาสมากยิ่งขึ้น



Comments


bottom of page