top of page

การประชุม COP26




การประชุม COP26 การประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (United Nations Framework Convention on Climate Change Conference of the Parties: UNFCCC COP) โดยล่าสุด จัดขึ้นระหว่างวันที่ 31 ตุลาคม –12 พฤศจิกายน 2021 ที่เมืองกลาสโกว์ ประเทศสก็อตแลนด์ เป็นสมัยที่ 26 (COP26) โดยมีประเทศสมาชิกองค์การสหประชาชาติทั้งหมด 197 ประเทศเป็นสมาชิก มีผู้เข้าร่วมการประชุมทั้งหมดราว 30,000 คน ประกอบด้วย ผู้นำระดับโลก ผู้แทนองค์กร ผู้สังเกตการณ์ และสื่อมวลชน การประชุม COP จัดขึ้นทุกปีนับตั้งแต่ปี 1994 ในปีนี้ (2021) นับเป็นปีที่ 27 แต่เนื่องจากสถานการณ์การระบาดของโคโรนาไวรัสทำให้การประชุม COP26 เลื่อนมาจัดในเวลาดังกล่าวแทน


แม้จะจัดขึ้นทุกปี แต่การประชุม COP26 ในครั้งนี้ถูกกล่าวถึงว่าเป็น “โอกาสสุดท้าย” ในการรักษาอุณหภูมิโลกไม่ให้สูงขึ้นถึง 1.5 องศาเซลเซียส และเป็นการประชุม COP ครั้งแรกหลังจากครบกำหนดการดำเนินงานในรอบ 5 ปี ของ ‘ความตกลงปารีส (Paris Agreement)’ ปี 2015 (หรือ COP21) ที่ประเทศที่ลงนามให้คำมั่นที่จะพัฒนาแผนระดับชาติในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก หรือ การมีส่วนร่วมที่ประเทศกำหนด(Nationally Determined Contributions: NDCs) ภายในปี 2020 ทบทวน และอัปเดตให้มีความมุ่งมั่นมากขึ้นทุกๆ 5 ปี


โดยร่างสัญญาฉบับดังกล่าวมีเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปี 2030 และให้ประเทศพัฒนาแล้วเพิ่มเงินช่วยเหลือประเทศที่ได้รับผลกระทบจากความเปลี่ยนแปลงทางสภาพอากาศเป็นจำนวน 1 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ รวมถึงการแสดงให้ทั่วโลกได้เห็นความสำคัญต่อปัญหาด้านสภาพแวดล้อมยิ่งขึ้น แน่นอนว่ายังมีข้อติดขัดบางประการในการเปลี่ยนผ่านรูปแบบการสร้างพลังงาน โดยเฉพาะประเด็นด้านยุติการใช้ถ่านหินในอุตสาหกรรมโรงไฟฟ้า รวมถึงการที่ข้อตกลงทั้งหมดที่เกิดขึ้นภายในการประชุมไม่มีผลบังคับทางกฎหมายใดๆ ปราศจากหลักประกันมายึดเหนี่ยวจนมีลักษณะเป็นแค่สัญญาใจมากกว่า


ประเด็นหลัก 4 หัวข้อ ที่ได้มีการอภิปรายในการประชุม COP26 ได้แก่:

  1. ลดระดับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้เหลือสุทธิเป็นศูนย์ (net-zero) ให้ได้ภายในปี 2050 และพยายามจำกัดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยโลกไม่ให้เกิน 1.5 องศาเซลเซียส ผ่านการเร่งการยุติการใช้ถ่านหิน ยุติการตัดไม้ทำลายป่า เร่งเปลี่ยนผ่านไปสู่เศรษฐกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และพัฒนากลไกตลาดคาร์บอน

  2. ปรับตัวเพื่อปกป้องชุมชนและถิ่นที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติให้มากขึ้น โดยเฉพาะประเทศที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจำเป็นต้องมีการปกป้องและฟื้นฟูระบบนิเวศ พัฒนาระบบป้องกัน ระบบเตือนภัย และโครงสร้างพื้นฐานที่ยืดหยุ่นฟื้นตัวได้ไว

  3. ระดมทรัพยากรทางการเงินจากประเทศพัฒนาแล้วเป็นหลัก ตามที่ได้ให้คำมั่นสัญญาว่าจะระดมทุนให้ได้อย่างน้อย 100,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐทุกปีเพื่อสนับสนุนประเทศกำลังพัฒนาในการปรับตัวและบรรเทาผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

  4. สร้างความร่วมมือเพื่อทำงานร่วมกันระหว่างรัฐบาล ภาคธุรกิจ และภาคประชาสังคมให้ได้ฉันทามติเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงการผลิตและใช้พลังงาน ระบบอาหาร การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การเดินทางและการเคลื่อนย้านสินค้าทั่วโลก และจัดทำ Paris Agreement Rulebook ให้เสร็จสิ้นเพื่อให้ข้อตกลงนี้สามารถดำเนินการได้อย่างสมบูรณ์


ที่มา:



1.5 องศาเซลเซียส สำคัญอย่างไร ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของความตกลงปารีส คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Intergovernmental Panel on Climate Change หรือ IPCC) ซึ่งเป็นหน่วยงานชั้นนำของโลกด้านวิทยาศาสตร์ภูมิอากาศ ได้ประเมินผลที่มีต่อโลกจากอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้น 1.5 องศาเซลเซียสอย่างละเอียดถึง โดยพบว่าความเสียหายที่เกิดจากอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้น 1.5 องศาเซลเซียสกับ 2 องศาเซลเซียสนั้นแตกต่างกันมาก และสรุปได้ว่าอุณหภูมิที่ต่ำกว่านั้นมีความปลอดภัยกว่ามาก

แม้อุณหภูมิเพิ่มขึ้น 1.5 องศาเซลเซียสก็ยังคงส่งผลให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น แนวปะการังฟอกสี และการเพิ่มขึ้นของคลื่นความร้อน ภัยแล้ง น้ำท่วม พายุที่รุนแรง และรูปแบบอื่นๆ ของสภาพอากาศที่รุนแรง แต่จะน้อยกว่าผลสุดขั้วของอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้น 2 องศาเซลเซียส

ผลการวิจัยเพิ่มเติมจาก IPCC ที่เผยแพร่ในเดือนสิงหาคม เน้นย้ำคำเตือนเหล่านี้ และสรุปว่ายังมีโอกาสที่โลกจะอยู่ภายในเกณฑ์ 1.5 องศาเซลเซียส แต่จะต้องมีความพยายามร่วมกัน ที่สำคัญคือ ยังพบว่าทุกๆ ระดับของการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิมีความสำคัญ


ที่มา: https://www.ipcc.ch/sr15/

 

ไบเดนพาสหรัฐฯ กลับเข้าสู่ความตกลงปารีส และประกาศแนวทางด้านนโยบายคาร์บอนต่ำที่ชัดเจน ประธานาธิบดี โจ ไบเดน ของสหรัฐฯ ได้กล่าวขอโทษผู้นำทั่วโลกภายในงาน COP26 ที่รัฐบาลชุดก่อนภายใต้การบริหารงานของอดีตประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ถอนตัวออกจากความตกลงปารีส จนทำให้ประเทศยังไม่สามารถบรรลุเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อมที่ตั้งไว้ได้ ประธานาธิบดีไบเดนเผยว่า ชาวอเมริกันเมื่อ 4-5 ปีที่แล้วยังไม่มั่นใจ ว่าสภาวะอากาศเปลี่ยนแปลงนั้นเป็นเรื่องจริงหรือไม่ แต่ตอนนี้พวกเขาได้เห็นความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นแล้ว และเริ่มเข้าใจความเร่งด่วนในการแก้ปัญหานี้เหมือนกับทุกคนในที่สุด

การถอนตัวจากความตกลงปารีส ที่เป็นการจัดตั้งกรอบเพื่อแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ด้วยการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เป็นสิ่งที่อดีตประธานาธิบดีทรัมป์มองว่าทำให้สหรัฐฯ เสียเปรียบในการแข่งขันทางเศรษฐกิจ ซึ่งทันทีที่ประธานาธิบดีไบเดนสาบานตนเข้ารับตำแหน่งเมื่อต้นปี 2020 ก็ได้ประกาศกลับเข้าร่วมความตกลงปารีสในทันที

ประธานาธิบดีไบเดนยังได้ประกาศแผนลดการปล่อยก๊าซมีเทนโลก (Global Methane Pledge) ลง 30% ภายในทศวรรษนี้ นับตั้งแต่ปี 2020 โดยมีกว่า 90 ประเทศในที่ประชุม COP26 เห็นพ้องสนับสนุนและร่วมลงนามในความตกลงดังกล่าว ประเทศพันธมิตรที่สนับสนุนเป้าหมายนี้ คิดเป็นราว 2 ใน 3 ของเศรษฐกิจโลก และในจำนวนนี้ครึ่งหนึ่งอยู่ใน 30 อันดับแรกของประเทศที่เป็นผู้ปล่อยก๊าซมีเทนมากที่สุดในโลก อย่างไรก็ตามมหาอำนาจอย่างจีน อินเดีย และรัสเซีย ไม่ร่วมลงนามในความตกลงนี้ แต่ถ้าหากเป้าหมายนี้ประสบผลสำเร็จ จะมีส่วนช่วยในการรับมือกับวิกฤตด้านสภาพภูมิอากาศโลกในระยะสั้นไม่มากก็น้อย

นอกจากนี้ ประธานาธิบดีไบเดนมอบหมายให้หน่วยงานคุ้มครองสิ่งแวดล้อม (Environmental Protection Agency) กลับมามีบทบาทสำคัญอีกครั้ง กฎใหม่ของหน่วยงานคุ้มครองสิ่งแวดล้อมที่ควบคุมการตรวจจับการรั่วไหลและการซ่อมแซมในอุตสาหกรรมน้ำมันที่ถูกยกเลิกโดยอดีตประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ จะถูกนำกลับมาใช้ใหม่ และเป็นครั้งแรกที่นำไปใช้กับการดำเนินงานใหม่ในก๊าซ รวมถึงกฎระเบียบของก๊าซธรรมชาติที่ผลิตเป็นผลพลอยได้จากการผลิตน้ำมันที่ถูกระบายออกมา ประธานาธิบดีไบเดนให้คำมั่นว่าจะฟื้นฟูการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมที่บกพร่องขาดตอนไปในช่วงสี่ปีที่ผ่านมา ได้สั่งให้ทบทวนกฎและข้อบังคับมากกว่า 100 ฉบับเกี่ยวกับอากาศ น้ำ ที่สาธารณะ สัตว์ใกล้สูญพันธุ์ และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่อดีตประธาธิบดีคนก่อนเคยปล่อยทิ้งไว้ และยังกล่าวย้ำด้วยว่า สหรัฐฯ จะแสดงให้ทั่วโลกเห็นว่า อเมริกาไม่ได้เพียงกลับเข้ามาร่วมกับนานาประเทศในการแก้ไขปัญหาภาวะโลกร้อน แต่ยังจะมาเป็นผู้นำด้วยการแสดงให้เห็นถึงความสำเร็จในการดำเนินการที่เป็นรูปธรรมด้วย


ที่มา:


 

ข้อสรุปจากการประชุม COP26 ที่เมืองกลาสโกว์ สกอตแลนด์

นอกจากร่างข้อตกลงที่ถือเป็นผลลัพธ์สำคัญที่สุดของการประชุม COP ในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผู้แทนนานาประเทศและจากทุกภาคส่วนมารวมตัวกัน ยังมีการประกาศหลายเรื่องที่น่าสนใจ ดังนี้


ความร่วมมือของสหรัฐฯ-จีน

หนึ่งในการประกาศที่สร้างความน่าประหลาดใจให้ผู้ติดตามการประชุมลดโลกร้อนคือการที่สหรัฐฯ และจีนรับปากว่า จะเพิ่มความร่วมมือด้านการปกป้องสภาพภูมิอากาศระหว่างกันในช่วง 10 ปีข้างหน้า โดยประเด็นที่เห็นชอบร่วมกัน เช่น การปล่อยมีเทน การเปลี่ยนไปใช้พลังงานสะอาด และการลดการปล่อยคาร์บอนลงจนเหลือศูนย์ คำประกาศร่วมระบุว่า ทั้งสหรัฐฯ และจีนจะ "ยึดมั่นในคำมั่นสัญญาว่าจะทำงานร่วมกัน" เพื่อบรรลุเป้าหมายการควบคุมอุณหภูมิไม่ให้เพิ่มขึ้นเกิน 1.5 องศาเซลเซียส ที่ตั้งไว้ในความตกลงปารีสปี 2015 ในฐานะผู้ปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์มากที่สุดในโลก 2 ประเทศ ข้อตกลงระหว่างสหรัฐฯ และจีน มีความสำคัญในการที่จะทำให้เป้าหมายการควบคุมอุณหภูมิไม่ให้เพิ่มเกิน 1.5 องศาเซลเซียสเป็นจริงได้ ก่อนหน้านี้จีนลังเลที่จะจัดการกับการปล่อยมลพิษจากถ่านหินในประเทศ ดังนั้นการออกมาประกาศเช่นนี้จึงถูกมองว่า เป็นการยอมรับถึงความความจำเป็นในการดำเนินการอย่างเร่งด่วน


ต้นไม้

ผู้นำจากกว่า 100 ประเทศทั่วโลก เช่น บราซิล รัสเซีย อินโดนีเซีย และสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก รวมทั้งไทย ซึ่งมีพื้นที่ป่ารวมกันคิดเป็น 85% ของป่าไม้ในโลกให้คำมั่นสัญญาว่าจะหยุดการตัดไม้ทำลายป่าและฟื้นฟูภายในปี 2030 ผ่านปฏิญญาว่าด้วยป่าไม้และการใช้ที่ดิน (Declaration on Forests and Land Use) คำมั่นสัญญานี้มีความสำคัญเพราะต้นไม้สามารถดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ หนึ่งในก๊าซเรือนกระจำที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน จำนวนมากมหาศาลไว้ได้ ดังนั้นการยุติการตัดไม้ทำลายป่าจึงเป็นวิธีการสำคัญในการจัดการกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก แผนงานนี้ยังได้รับการสนับสนุนเงินทุนกองทุนภาครัฐและเอกชนกว่า 19,000 ล้านดอลลาร์ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากทั้งบราซิล จีน โคลอมเบีย คองโก อินโดนีเซีย รัสเซีย และสหรัฐอเมริกา


มีเทน

ในที่ประชุม COP26 ผู้แทนจากกว่า 100 ประเทศ เห็นชอบกับโครงการตัดลดการปล่อยมีเทนลง 30% ภายในปี 2030 มีเทนเป็นหนึ่งในก๊าซเรือนกระจกที่สร้างความเสียหายมากที่สุด ราว 1 ใน 3 ของการกระทำของมนุษย์ที่ก่อให้เกิดภาวะโลกร้อนเกี่ยวข้องกับการปล่อยมีเทน ของปัญหาโลกร้อนที่เกิดจากมนุษย์ มีเทนส่วนใหญ่มาจากกิจกรรมต่างๆ เช่น การทำนา การทำปศุสัตว์ และการกำจัดของเสีย อย่างไรก็ตาม ประเทศที่เป็นผู้ปล่อยก๊าซมีเทนรายใหญ่อย่างจีน รัสเซียและอินเดีย ไม่ได้เข้าร่วมโครงการนี้ (แล้วไทยละครับ เราก็เป็นประเทศที่ปล่อยมีเทน สูงระดับต้นๆ ของโลกเลยครับ แจนหาข้อมูล ว่า เราร่วมเห็นชอบไหม) ถ้าร่วม ก็ใส่ (รวมทั้งไทย) พี่เจอของป่าไม้ ไม่เจอของมีเทน และพี่คิดว่า ไทยไม่น่าร่วมของมีเทน แต่อย่างไร แจนช่วยหาข้อมูลเพิ่มเติมอีกที)


ถ่านหิน

มากกว่า 40 ประเทศ ซึ่งรวมถึงประเทศที่ใช้ถ่านหินรายใหญ่อย่างโปแลนด์ เวียดนาม และชิลี เห็นชอบที่จะเลิกใช้ถ่านหิน ถ่านหินเป็นปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมากที่สุด แม้ว่าจะมีความก้าวหน้าในการลดการใช้งานถ่านหิน แต่ถ่านหินก็ยังถูกใช้ในการผลิตไฟฟ้าทั่วโลกราว 37% ในปี 2019


มาตรการทางการเงิน

สถาบันการเงินราว 450 แห่ง ซึ่งมีการควบคุมเงินราว 130 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 4,259 ล้านล้านบาท) เห็นชอบที่จะสนับสนุน "เทคโนโลยีสะอาด" อย่างพลังงานหมุนเวียน และปฏิเสธที่จะให้การสนับสนุนทางการเงินแก่อุตสาหกรรมที่ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล โครงการนี้เป็นความพยายามในการทำให้บริษัทเอกชนต่าง ๆ มีส่วนร่วมในการบรรลุเป้าหมายการปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ และทำให้บริษัทเหล่านี้รับปากว่าจะสนับสนุนการเงินในเทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม





bottom of page