top of page

ยานอวกาศ Voyager 1 ส่งข้อมูลกลับมายังโลกครั้งแรกในรอบ 5 เดือน



เป็นครั้งแรกในรอบห้าเดือน ที่วิศวกรของ NASA ได้รับข้อมูลที่ถอดได้จากยาน Voyager 1 หลังจากการแก้ปัญหาการสื่อสารบนยานอวกาศที่อยู่ห่างไกลที่สุดในจักรวาลของมนุษย์


ปัจจุบันยาน Voyager 1 ทำงานอยู่ห่างออกไปจากโลกประมาณ 24 พันล้านกิโลเมตร โดยยานสำรวจนี้มีถึงอายุ 46 ปี และมีสัญญาณความผิดปกติหลายประการในช่วงไม่กี่ปีมานี้ ปัญหาล่าสุดถูกพบในยาน Voyager 1 เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2023 คือระบบส่งข้อมูลทางไกลของยานเริ่มส่งรูปแบบรหัสซ้ำที่ถอดไม่ออก โดยยาน Voyager 1 เป็นยานอวกาศที่เก็บข้อมูลจากเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์บนยานอวกาศ และรวบรวมเข้ากับข้อมูลทางวิศวกรรมเป็นรหัสไบนารี่ (binary code) หรือชุดข้อมูลเลข 1 และ 0 ซึ่งข้อมูลเหล่านี้สะท้อนถึงสถานะความผิดปกติของโพรบถ่ายทอดสัญญาณของยาน


แต่ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ระบบข้อมูลการบินของ Voyager 1 ก็ติดขัดวนอยู่ แต่โพรบของยานยังคงส่งสัญญาณวิทยุไปยังทีมควบคุมภารกิจบนโลกอย่างต่อเนื่อง แต่สัญญาณดังกล่าวกลับไม่มีข้อมูลที่ใช้งานได้


สมาชิกของทีมภารกิจ Voyager เฉลิมฉลองหลังจากได้รับข้อมูลที่สอดคล้องกันครั้งแรกจากยานVoyager 1 ในรอบห้าเดือน

ที่ห้องปฏิบัติการ Jet Propulsion ของ NASA เมื่อวันที่ 20 เมษายน เครดิตภาพ: NASA/JPL-Caltech


ทีมภารกิจยาน Voyager 1 ได้แก้ไขปัญหาด้วยการส่งคำสั่งให้รีสตาร์ทระบบคอมพิวเตอร์ของยานอวกาศและดำเนินการแก้ไขปัญหาอย่างละเอียด พวกเขาระบุว่าชิปหน่วยความจำมีการทำงานผิดปกติและส่งผลให้ข้อมูลที่ใช้งานได้สูญหายไป ทีมภารกิจไม่สามารถซ่อมแซมชิปได้ แต่ได้คิดค้นวิธีแก้ปัญหาเพื่อจัดเก็บรหัสไบนารี่ที่ได้รับผลกระทบไว้ที่อื่นภายในหน่วยความจำของระบบ หลังจากส่งสัญญาณวิทยุสั่งย้ายรหัสไปยังยาน Voyager 1 แล้ว เมื่อวันที่ 18 เมษายน พวกเขาก็ได้รับการยืนยันเมื่อวันที่ 20 เมษายนว่า การแก้ปัญหาสำเร็จ และทำให้สามารถรับข้อมูลทางวิศวกรรมที่อ่านได้จากยานอวกาศนี้ ทีมภารกิจวางแผนที่จะย้ายส่วนอื่นๆ ที่ได้รับผลกระทบจากซอฟต์แวร์ของยานอวกาศในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า รวมถึงส่วนที่รับผิดชอบในการส่งข้อมูลทางวิทยาศาสตร์อันมีค่า


ยาน Voyager 1 และ 2 เปิดตัวในปี 1997 ซึ่งเดิมออกแบบมาเพื่อภารกิจห้าปี และเป็นยานอวกาศที่ทำงานยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์ ยาน Voyager ได้เดินทางออกไปนอกขอบเขตของระบบสุริยะไปสู่อวกาศระหว่างดวงดาว (Interstellar space)  โดยให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับการสำรวจระบบสุริยะและการสำรวจดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน ยาน Voyager 2 ซึ่งยังคงปฏิบัติการอยู่ ได้เดินทางไกลจากโลกไปแล้วกว่า 20.3 พันล้านกิโลเมตร แม้จะเผชิญกับปัญหา เช่น การหยุดชะงักของการสื่อสารอยู่บ้าง แต่โพรบทั้งสองยังคงทำงานต่อไป ทีมงานคาดว่าจะได้รับข้อมูลทางวิทยาศาสตร์จากยานโวเอเจอร์ 1 ในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า ซึ่งแสดงให้เห็นความสำเร็จของภารกิจและการมีส่วนร่วมของวิศวกรรุ่นเยาว์


ข้อมูลอ้างอิง

Voyager 1 is sending data back to Earth for the first time in 5 months สืบค้นเมื่อ 23 เมษายน 2567 จาก https://www.cnn.com/2024/04/22/world/voyager-1-communication-issue-cause-fix-scn

bottom of page