top of page

แมมมอธขนยาวกำลังจะฟื้นคืนชีพ




แมมมอธขนยาว สัตว์ขนาดใหญ่ที่สูญพันธุ์ไปแล้วเป็นเวลากว่า 10,000 ปี จะฟื้นคืนชีพอีกครั้ง โดยนาย Ben Lamm ผู้ประกอบการด้านเทคโนโลยี ร่วมด้วย ศาสตราจารย์ George Church นักพันธุศาสตร์จาก Harvard Medical School และคณาจารย์ที่ Wyss Institute for Biologically Inspired Engineering ที่ Harvard University ร่วมมือกันสร้างสัตว์ชนิดใหม่ที่คล้ายกับแมมมอธขนยาวที่สูญพันธุ์ไปแล้ว โดยการดัดแปลงพันธุกรรมช้างเอเชียที่เป็นสายพันธุ์ที่มีพันธุกรรมใกล้เคียงที่สุด และใกล้จะสูญพันธุ์เช่นกัน ให้ทนต่ออุณหภูมิหนาวเย็นในบริเวณอาร์กติก และทนทานต่อไวรัสเริม (herpes virus) ซึ่งหากการการวิจัยนี้สำเร็จ ศาสตราจารย์ Church ตั้งเป้าหมายจะส่งแมมมอธขนยาวกลับยังไปธรรมชาติ ที่ห่างไกลจากมนุษย์ คือ แคนาดาตอนเหนือ อลาสก้า และไซบีเรีย


โดยที่ผ่านมา ศาสตราจารย์ Church ได้ทำการดัดแปลงพันธุกรรมที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันในสุกร โดยตัดแต่งยีน 42 จุดในเซลล์ จากนั้น ถ่ายโอนนิวเคลียส ซึ่งเป็นส่วนที่มี DNA ของเซลล์ ใส่กลับเข้าไปในไข่ และเติบโตจนเป็นลูกสุกร โดยสุกรดัดแปลงพันธุกรรมเหล่านี้แข็งแรงพอที่จะนำไปใช้ปลูกถ่ายอวัยวะในการทดลองในโรงพยาบาล สำหรับแมมมอธขนยาว จะทำการตัดแต่งพันธุกรรม โดยฝังเข้าไปในเยื่อบุโพรงมดลูกในช่วงแรก จากนั้นจะย้ายไปเข้าไปเลี้ยงในมดลูกเทียม ซึ่งเป็นถุงพลาสติดขนาดใหญ่ เป็นเทคนิคเดียวกับที่นักวิทยาศาสตร์ในฟิลาเดลเฟียเคยเลี้ยงแกะดัดแปลงพันธุกรรมในปี 2560





bottom of page